หน้าแรก |
ชายหาด |
สถานที่ท่องเที่ยว |
สถานบันเทิง |
กอล์ฟ |
สภาพอากาศ |
แผนที่ท่องเที่ยว |
โรงแรม | บ้านให้เช่า | คอนโดให้เช่า | ขายบ้าน | ขายคอนโด | การขนส่ง | ข้อมูลเกี่ยวกับหัวหิน |
วัดใหญ่สุวรรณารามวัดใหญ่สุวรรณาราม เดิมชื่อว่า วัดน้อยปักษ์ใต้วัดใหญ่สุวรรณนาราม หรือเรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหญ่" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่า "วัดน้อยปักษ์ใต้" สันนิศฐานว่าเป็นวัดที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังจะเห็นได้จากหลักบานที่มีตาม พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงไว้ว่า "ภาพแลพลายในพระอุโยสถแห่งนี้คงเขียนมาก่อน300 ปีขึ้นไป"(นับถึงปัจจุบันคงต้องเป็น 400 ปี) สำหรับชื่อวัดนั้นที่ชื่อว่า "วัดใหญ่" เข้าใจว่าเพราะมีเนื้อที่ถคง 20 ไร่เศษ ส่วนคำว่า "สุวรรณ" นั้นน่าจะได้มาจากพระนามของสมเด็จพระสังฆราช(แตงโมง) ซึ่งเดิมท่านชื่อ ทอง หรือจะเป็นนามฉายาของท่านว่า สุวณณ ด้วยก็ได้ เพราะท่านได้มาปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญให้วัดนี้ อันเป็นสถานมูลสึกษาเดิมของท่าน วัดนี้จึงมีชื่ว่า วัดใหญ่สุวรรณวนาราม แต่นั้นสืบมา วัดเก่าแก่และสำคัญมากของจังหวัดเพชรบุรี สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นแหล่งรวมฝีมืองานช่างที่ปราณีต อ่อนช้อยและงดงาม ของชาวเพชรบุรีไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ เป็นภาพเทพชุมนุมศิลปะอยุธยา ฝีมือช่างเมืองเพชร ด้วยความงดงามและความเก่าแก่ ของทำให้วัดใหญ่สุวรรณรามเคยใช้เป็นฉากในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยทัยรวมถึงละครเรื่องบ่วง และขุนศึกอีกด้วย ศาลาการเปรียญ ตามตำนานหลักบานเดิมกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าเสือได้พระราชทานท้องพระโรงหลังหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือพระอาจารย์์ คือสมเด็จพระสังฆราช (แตงโมง) มาทำศาลาการเปรียญเมื่อคราวบูรณะวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นสาลาการเปรียญทรงไทย สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ด้านทิศตะวันตกมีมุขประเจิด หลังค่ามุงด้วยกระเบื้องกาบู (กาบกล้วย) ประดับช่อฟ้าใบระกาติดกระจกสีสวยงาม เป็นศาลาขนาดใหญ่มีเสาแปดเหลี่ยม ที่เขียนลายรดน้ำ เหมือนกันเป็นคู่ๆ ทุกคู่ลายไม่ซ้ำกัน ส่วนภายนอกเดิมฝาผนังเขียนเป็นลายทองทั้งหลัง และยังมีคันทวยหน้าตั๊กแตนสวยงามมาก พร้อมกระจังพรึงที่ใหญ่ที่สุดในประเปศ บ้านประตูสาลาการเปรียญ เป็นบานประตูประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากและมีความ งดงามเป็นเลิศ ได้แก่ บานประตูกลางซึ่งอยู่ด้านหน้าของสาลาการเปรียญ ทางทิสตะวันออกทำด้วยไม้สัก จำหลักลวดลายกระหนกก้านขด 2 ชั้นปิดทองประดับกระจก กรอบเช็ดหน้าบบานประตูทำไว้สวยงาม จึงมีผู้นำเป็นต้นแบบไปสร้างเป็นซุ้มประตูและซุ้มเรือนแก้วพระพุทธรูป ตอนบนด้านซ้ายมีรอยแตก เล่าว่าเคยพูกพม่าฟันมาแล้ว ดังปรากฏเป็นหลักฐานจนทุกวันนี้ ธรรมาสน์ภายในศาลาการเปรียญมีธรรมาสน์ฝีมืองดงามอยู่ 2 หลังที่น่าสนใจคือ หลังเก่ามีมาพร้อมกับสาลาการเปรียญ ลักษณะเป็นไม้จำหลัก ทรงบุษบก รัชหาลที่ 5 ทางชมเชยว่างามนัก เสาแปดเหลี่ยมเขียนลายรดน้ำภายในสาลาการเปรียญ หอไตร หอไตรมีอนู่ 2 หลัง หลังเก่าอยู่กลางสระน้ำรูปทรงแยยเรือนไทยโบราณชั้นเดียว 2 ห้อง แต่มี 3 เสา มีสระพานทอดจากริมขอบสระไปยังหอไตร หอไตรหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น มีระเบียงเดินได้รอบ หลังค่วอน 2 ชั้ร ประดับช่อฟ้าใบระกา และหางหงส์ หน้าบันประกอบรูปลายก้านขดและเทพนมอยู่แต่ละด้าน เป็นของที่สร้างขึ้นมาใหม่ มีอายุราว 82 ปี พระอุโบสถมีพระระเบียงคดล้อมรอบ ลักษณะเป้นสถาปัตยกรรมทรงไทย สมัยอยุธยาก่ออิฐ ถือปูน มีหน่้าบันแประดับด้วยกระจกสีประกอยด้วย ลวดลวยปูนปั้นสวยงามมากที่ผนังด้านในมีภาพจิตรกรรม เทพชุมนุม 5 ชั้ร ที่มีความงดงามและทรงคุณค่าทางสิลปะ ที่มีความงดลาม และคุรค่าทางศิลปะ ที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนที่มีฐานปัทม์อ่อนโค้งแบบฐานสำเภา มีระเบียงคดล้อมรอบเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยสมัยอยุธยา หน้าบันเป็น งานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต ภายในพระอุโบสถมีภาพทวารบาล ภาพพุทธประวัติ จิตรกรรมภาพเทพชุมนุม เรียงรายกัน 5 ชั้นมีอายุกว่า 400 ปี เสาและเพดานมีการตกแต่งด้วยลายทองบนพื้นแดงอย่างวิจิตร พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พุทธลักษณะสมส่วนสวยงาม ที่ฐานพระตกแต่งลวดลายปูนปั้นและปิดทองประดับกระจกสีสวยงามมาก มีพระพุทธรูปที่งดงาม อีกหลายองค์ประดิษฐานบนฐานชั้นล่าง ได้แก่ พระคันธารราษฎร์ พระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 5 ทรงอัญเชิญมา ประดิษฐานในโบสถ์แห่งนี้ และมีรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชแตงโมประดิษฐานอยู่หน้าพระประธาน ด้านหลังพระประธาน เป็นพระพุทธรูปที่มีนิ้วพระบาท ๖ นิ้ว เรียกกันว่า "พระหกนิ้ว" นับเป็นเรื่องแปลกที่เล่าสืบ กันมาว่าพระพุทธรูปองค์นี้ช่างตั้งใจที่จะ สร้างให้มี ๖ นิ้ว (มองเห็นเฉพาะพระบาทขวา ส่วนพระบาทซ้ายเป็นท่าขัดสมาธิอยู่ใต้พระชานุ) อันเนื่องมาจากพระพุทธรูปในวัดเขายี่สาร มีนิ้วพระบาทรวมกันได้ ๙ นิ้ว เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปที่วัดใหญ่สุวรรณาราม ช่างจึงได้สร้างให้มีนิ้วพระบาทเกินมา ๑ นิ้ว ตำนานเรื่องนี้ไม่มีข้อพิสูจน์ แต่ถ้าเกิดจากความบังเอิญนับว่าเป็นความบังเอิญที่ประจวบเหมาะกันมากเพราะวัดเขายี่สารอยู่ในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดเพชรบุรี ทั้ง ๒ วัดห่างกันประมาณ ๒๘.๕ กิโลเมตร โดยมีอำเภอบ้านแหลมคั่นอยู่ พระจุฬามณีเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่อยู่บนสวรรค์ ปัจจุบันมีการสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ให้ปรากฏเห็นหลายแห่ง เช่นที่นครสวรรค์ วัดคีรีวงศ์ พระจุฬามณีเจดีย์อยู่ที่ด้านหน้าพระอุโบสถภายในระเบียงคด ซึ่งตรงกับประตูทางเข้า-ออก จึงทำให้ประตูนี้ต้องปิดไว้ตลอด หน้าบันซุ้มประตูหน้า เฉพาะซุ้มประตูด้านหน้าทิศตะวันออกทั้งด้านนอกและด้านในมีลวดลายที่แตกต่างจากซุ้มอื่นๆ ภาพซ้ายเป็นหน้าบันของพระอุโบสถรูปครุฑ ภาพขวาหน้าบันของซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกซึ่งต้อง เข้ามาในพระอุโบสถและมองลอดหน้าต่างออกไปจึงจะเห็น ส่วนหน้าบันซุ้มประตูด้านนอกภาพลวดลายไม้ ได้หลุดหายไป หรืออาจจะถูกเก็บรักษาไว้เพื่อนำมาบูรณะติดเข้าไปใหม่คงเหลือแต่ลายก้านขดมองดู ชิ้นส่วนที่เหลืออยู่มีลักษณะคล้ายจะเป็นหิ้งพระและเป็นไปได้ว่าจะเป็นลายไม้แกะสลักพระพุทธรูปที่หลุดออกไป พระประธานวัดใหญ่สุวรรณาราม พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พุทธลักษณะสมส่วนสวยงาม มีฐานพระตกแต่งลวดลายปูนปั้นและปิดทองประดับ กระจกสีสวยงามมาก เด่นตระหง่านอยู่ตรงกลางโดยมีพระพุทธรูปที่งดงามอีกหลายองค์ประดิษฐานบนฐานชั้นล่าง ปรางค์และเจดีย์ด้านหน้า ก่อนที่จะเข้าประตูระเบียงคดเดินอ้อมไปทางด้านหน้าทิศตะวันออก จะเห็นปรางค์ที่รายล้อมด้วยสถูปเจดีย์ มากมายอยู่บริเวณนอกทางเดินรอบพระอุโบสถ เป็นลักษณะการสร้างแบบย่อมุมไม้สิบสอง และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ที่ตั้ง อยู่ที่ถนนพงษ์สุริยา อำเภอเมือง จ.เพชรบุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 1 กิโลเมตร ข้อมูลเพิ่มเติม:ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี เพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ 032412714
แชร์ประสบการของคุณกับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหิน ↑ กลับไปที่ด้านบน↑
|